โครงงานคอมพิวเตอร์ ประเภท จำลองทฤษฎี


นางสาวฉัตรชนก คงมั่น และคณะ. 2560. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของดินในท้องถิ่นบ้าน
       หนองคูพัฒนาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1  
       โครงการห้องเรียนพิเศษเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (SME) โรงเรียนสำโรง
       ทาบวิทยาคม.

ครูที่ปรึกษาโครงงาน
       นางดวงตา บุติมาลย์

บทคัดย่อ
      
       โครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร โดยกำหนดตัวแปรดังนี้ ชนิดของดินในท้องถิ่นเป็นตัวแปรต้น และการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรเป็นตัวแปรตาม คณะผู้จัดทำได้ปลูกต้นกระบองเพชรด้วยดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา จากบริเวณหนองน้ำ ทุ่งนา สวนในบ้าน และดินที่ใช้เพาะปลูกทั่วไป โดยนำต้นกระบองเพชรลงปลูกในดินทั้ง 4 ชนิดแล้วตั้งไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดที่เหมาะสม และสังเกตการณ์เจริญเติบโตพร้อมรดน้ำ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 1 เดือน 3 สัปดาห์ สังเกตและบันทึกผลการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร โดยดูจากลักษณะของหนาม และลักษณะของราก ตามชนิดของดินที่นำมาเพาะปลูก

 ผลการศึกษา
       ต้นกระบองเพชรใบที่ 1 และใบที่ 2 ที่ปลูกในดินบริเวณหนองน้ำและทุ่งนาตามลำดับ ไม่มีการเจริญเติบโตโดยดูจากลักษณะหนามที่ไม่มีตะขอหนามโค้งงอ มีหนามที่สั้นลงจากเดิม รากของต้นที่สั้นมากกว่าเดิมและเหี่ยวเฉา เนื่องจากสาเหตุคือ ดินไม่อุ้มน้ำเมื่อทิ้งไว้นานความชื้นจะหาย เนื้อดินหยาบและแข็งมาก ส่วนต้นกระบองเพชรใบที่ 3 และ ใบที่ 4 ที่ปลูกในดินบริเวณสวนในบ้านและดินที่ใช้เพาะปลูกทั่วไปตามลำดับ มีการเจริญเติบโตโดยดูจากลักษณะหนามที่มีตะขอหนามโค้งงอเพิ่มขึ้นจากเดิม หนามที่ยาวขึ้น รากของต้นยาวและไม่เหี่ยวเฉา เมื่อเราสังเกตการเจริญเติบโตจากดินทั้งสองประเภทคือ ดินต้นแบบกับดินในท้องถิ่น มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งดินต้นแบบมีการเจริญเติบโตของรากและการเจริญเติบโตของหนามตะขอซึ่งมีลักษณะโค้งงอคล้ายตะขอซึ่งเปรียบเทียบกับต้นกระบองเพชรที่ปลูกด้วยดินในท้องถิ่น ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ดินมีการอุ้มนำและรักษาความชื้นของดินอย่างเหมาะสม ทำให้ต้นกระบองเพชรเจริญเติบโตได้ดีในดินบริเวณท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา ซึ่งดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรมากที่สุดคือ ดินจากบริเวณสวนในบ้าน ที่มีลักษณะเนื้อดินนุ่ม ละเอียด รักษาความชื้น และดินอุ้มน้ำ อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรคือ การดูแลรักษา ที่แสงต้องเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ปริมาณน้ำที่รดต้องเหมาะสมตามความลักษณะและชนิดของพืช ดินที่ใช้ในการปลูกต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับพืช มีความชื้นอย่างเหมาะสม และดูแลต้นกระบองเพชรไม่ให้เหี่ยวเฉาและตาย

                                                  ที่มาและความสำคัญ
      
       จุดเริ่มต้นในเรื่องราวของธรรมชาติได้สรรค์สร้างความน่าอัศจรรย์ ทั้งพืชพรรณที่งอกงาม ดอกที่ไม้เบ่งบาน ทำให้รับรู้ถึงความงามที่น่าค้นหาของพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความแตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ คือ ต้นกระบองเพชร ในปัจจุบันต้นกระบองเพชรเป็นพืชที่ได้รับความนิยมและนำมาปลูกกันมาก ลักษณะเฉพาะอันโดดเด่น ที่นอกจากความสวยงามแล้วยังสามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตัวเอง เพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่รอด ซึ่งต้นกระบองเพชรสามารถพบได้ตั้งแต่เขตอบอุ่น กึ่งเขตร้อน ไปจนถึงเขตร้อน เป็นพืชที่ดำรงชีวิตและยืนหยัดอยู่ในที่ทุรกันดารได้ มีการสะสมน้ำไว้ในส่วนของต้น รากและใบ กระบองเพชรเป็นพืชที่มีมากมายหลายสายพันธุ์ มีรูปร่างสวยงามและหลากหลาย เลี้ยงง่าย ทนต่อทุกสภาพแวดล้อม เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของต้นกระบองเพชร พบว่า ในส่วนใบจะมีการลดรูปใบเปลี่ยนใบเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ พรางแสงเพื่อลดความร้อน อีกทั้งยังใช้ป้องกันการถูกทำลายจากสัตว์ได้ นอกจากนี้แล้วดอกของต้นกระบองเพชรยังมีความงดงามน่าดึงดูด ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะมีขนาดใหญ่ และมีลักษณะของการทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบของดอกจากค่อยๆ บานออกจากจุดศูนย์กลางทีละชั้นๆ โดยเผยให้เห็นเกสรอันบอบบางที่ซ่อนอยู่ภายในดอก จะขึ้นบริเวณผิวของลำต้นที่ดูแข็งแรง หยาบ และมีหนาม นิยมปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย การรดน้ำให้ถูกวิธี หากผู้ที่ต้องการจัดทำเป็นส่วนเพื่อประดับบ้าน ก็จะในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ทำให้มีความสวยงามที่แตกต่างกันไป ทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจเพราะไม่ว่ากระบองเพชรจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย อากาศแปรปรวน เจอแดด ลม หรือฝน แรงแค่ไหนพืชชนิดนี้ก็ยังสามารถผลิตความงดงามให้แก่เราได้ ดังนั้นต้นกระบองเพชรจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งความอดทนและเข้มแข็ง ด้วยเป็นพืชที่คนให้ความนิยมและชื่นชอบเป็นอย่างมาก แต่หาเพาะปลูกได้ยากในท้องถิ่นอำเภอสำโรงทาบ และเป็นพืชที่ส่วนมากปลูกแต่ในดินทราย  ไม่ค่อยนิยมนำมาปลูกด้วยดินชนิดอื่นๆ
       คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำต้นกระบองเพชรมาทดลองปลูกด้วยดินต้นแบบที่ใช้ปลูกและดินในท้องถิ่นบ้านหนองคู โดยนำดินจากบริเวณหนองน้ำที่มีลักษณะเนื้อดินหยาบ มีหินปนอยู่กับดิน มีความแฉะและชื้นมาก สีน้ำตาลอ่อนนำดินบริเวณทุ่งนาที่มีลักษณะเนื้อดินละเอียด ไม่มีหินปะปนกับดิน สีน้ำตาลปนแดง  และนำดินบริเวณสวนในบ้านที่มีลักษะเนื้อดินหยาบ สีน้ำตาลเข้ม มีความชื้นไม่มาก เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรในแต่ละดินที่นำมา ว่าสามารถเพาะปลูกในดินชนิดอื่นๆนอกเหนือจากดินทรายได้หรือไม่ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ทางการเกษตรในการเพาะปลูกหรือพัฒนาพันธุ์ของต้นกระบองเพชรให้มีลักษณะพันธุ์ที่ดี และเจริญเติบโตได้ในทุกพื้นที่

วัตถุประสงค์
      -เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรระหว่างดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา
       กับดินที่ใช้ปลูกต้นกระบองเพชรทั่วไป
     
สมมติฐาน        
      ดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนาทำให้ต้นกระบองเพชรเจริญเติบโตได้ดีกว่าดินต้นแบบเดิม

ความสำคัญ
      กระบองเพชรเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในทะเลทรายแต่บางชนิดอยู่ตามป่าธรรมดาหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป ต้นกระบองเพชรสามารถยืนต้นอยู่ได้ เป็นพืชอวบน้ำซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของพืชในบริเวณที่มีความแห้งแล้งกันดาร จึงมีการสะสมน้ำไว้ในส่วนของต้น รากและใบ กระบองเพชรเป็นพืชที่มีมากมายหลายสายพันธุ์ ที่มีรูปร่างสวยงามและหลากหลาย เลี้ยงง่าย ทนต่อทุกสภาพแวดล้อม เลยทำให้ได้รับความนิยมในการตกแต่งสวน หรือปลูกใส่กระถางเล็กๆ ไว้ประดับบ้าน มีราคาถูก ด้วยเป็นพืชที่คนให้ความนิยมอย่างมาก แต่ก็หาเพาะปลูกได้ยากในท้องถิ่นอำเภอสำโรงทาบ คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำต้นกระบองเพชรมาทดลองปลูกด้วยดินในท้องถิ่น เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืช และเพื่อนำมาเป็นความรู้ในการขยายพันธุ์เพาะปลูกในท้องถิ่น
     
ขอบเขตการทำโครงงาน
      ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
            ตัวแปรต้น      ชนิดของดิน
            ตัวแปรตาม     การเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร
            ตัวแปรควบคุม  ปริมาณดิน ปริมาณน้ำ ชนิดของต้นกระบองเพชร อายุ ปริมาณแสง เวลา    
       ระยะเวลา
           วันที่ 4 สิงหาคม 2560วันที่ 20 กันยายน 2560
       สถานที่
            บ้านเลขที่ 135 หมู่ 13 ตำบล หนองไล้อม อำเภอ สำโรงทาบ จังหวัด สุรินทร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     
       -เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรระหว่างดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา
        กับดินที่ใช้ปลูกต้นกระบองเพชรทั่วไปได้
       -สามารถเพาะปลูกต้นกระบองเพชรในดินชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากดินทรายได้
       -เป็นประโยชน์ทางการเกษตรในการเพาะปลูกหรือพัฒนาพันธุ์ของต้นกระบองเพชรให้มีลักษณะ
        พันธุ์ที่ดี และเจริญเติบโตได้ในทุกพื้นที่

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

      ในการทำโครงงานครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของดินในท้องถิ่นอำเภอสำโรงทาบที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร ซึ่งคณะผู้จัดทำได้นำเสนอตามลำดับดังนี้
      1.ข้อมูลเกี่ยวกับต้นกระบองเพชร
            1.1 ลักษณะของต้นกระบองเพชร
            1.2 ลักษณะทางนิเวศวิทยา
            1.3 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            1.4 ลักษณะสายพันธุ์
            1.5 การปลูก
            1.6 การดูแลรักษา
      2.ดินในท้องถิ่น           
            2.1 ดินในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
           
1.ข้อมูลเกี่ยวกับต้นกระบองเพชร     
      1.1 ลักษณะของต้นกระบองเพชร   
             กระบองเพชร (Mila sp., อังกฤษ: cactus) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในทะเลทราย ต้นกระบองเพชรสามารถยืนต้นอยู่ได้ แม้อยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้งกันดาร โดยไม่ตาย เพราะนานๆ ครั้งหนึ่งจะมีฝนตกจำนวนมาก โดยต้นกระบองเพชรจะเก็บน้ำไว้ในลำต้นเป็นจำนวนมาก มันจะใช้น้ำตลอดระยะเวลาแห้งแล้งที่ยาวนาน และมันจะเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ ดังนั้นมันจึงสามารถอยู่ในทะเลทรายได้สรรพคุณทางสมุนไพรของกระบองเพชร สามารถใช้บรรเทาโรคบิดได้ สารสกัดกระบองเพชรช่วยลดอาการเมาค้าง
     
      1.2 ลักษณะทางนิเวศวิทยา
          มีหลายชนิดที่อยู่ในทะเลทราย แต่บางชนิดอยู่ตามป่าธรรมดาหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป กระบองเพชรส่วนใหญ่จะมีตามทะเลทรายมากกว่า ต้นกระบองเพชรที่ ขายทั่วไปที่จะเป็นแบบบอนไซหรือชนิดที่มีขนาดปกติ แบบทั่วไปที่มีขนาดปานกลางเท่ากับต้นจริง กระบองเพชรจะเปลี่ยนใบเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ เป็นไม้ประดับ
     
      1.3 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ลักษณะทั่วไป กระบองเพชรเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-12 ฟุต ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำ มีขนหรือหนามรอบต้นหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ลักษณะต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอกรูปทรงกลม หรือแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ใบคือส่วนของลำต้นที่ทำหน้าที่แทนใบ หรือบางชนิดก็มีใบแบนกลมหนาใหญ่ อาจมีดอกสีแดง สีเหลือง หรือสีขาว ลักษณะดอกและขนาดดอกขึ้นกับชนิดพันธุ์

       1.4 ลักษณะสายพันธุ์
            สกุล Mammillaria แคคตัสในสกุลนี้มีมากมายกว่า 400 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Mammillaria มาจากภาษาละตินว่า Mammilla ( nipple ) หมายถึง โครงสร้างที่เป็นเนินหนามขนาดเล็กของพืช ชื่อสกุลนี้ตั้งโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ E.H. Haworth แคคตัสในสกุลนี้มีรูปทรงแตกต่างกันออกไปมากมาย มีทั้งที่เป็นทรงกลมแป้นและทรงกระบอก อาจจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มก็จะประกอบด้วยหัวที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป ใน 1 หัวจะประกอบไปด้วยเนินหนาม ซึ่งระหว่างรอยต่อของเนินหนามมักจะมีขนปกคลุมอยู่ หนามก็มีหลายสี หลายขนาด ลักษณะเป็นขนแข็งหรือตะขอ ดอกมีลักษณะเป็นทรงระฆังหรือทรงกรวย มีขนาดเล็ก ผลิตเป็นวงตรงยอดต้น และมักจะมีท่อดอกสั้น ยกเว้นเพียงไม่กี่ชนิดที่จะมีท่อดอกขนาดยาว เช่น Mammillaria saboae fa. Haudenan ส่วนผลมีขนาดค่อนข้างเล็กเป็นรูปไข่ยื่นยาวและเรียวเล็กผิวเกลี้ยงเรียบ มีหลายสี เช่น สีเขียว สีชมพู หรือสีแดงเมื่อแก่เต็มที่แล้ว แคคตัสสกุล Mammillaria มีถิ่นกำเนิดอยุ่ในประเทศเม็กซิโกแต่บางชนิดก็อาจจะพบได้ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา แถบตะวันตกของหมู่เกราะเวสต์อินดีส และแถบอเมริกาใต้ แคคตัสในสกุลนี้สามารถปลูกเลี้ยงและออกดอกได้ง่ายในดินที่มีการะบายน้ำดี ส่วนชนิดที่มีหนามมาหนาแน่นมากจะต้องการร่มเงาบ้างเล็กน้อย

      1.5 การปลูก
         การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี
             1.การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก: ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
            2.การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก

      1.6 การดูแลรักษา
            แสง : ต้องการแสงแดดน้อยในร่ม จนถึงแสงแดดจัดกลางแจ้ง
            น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง หรือแล้วแต่ความ 
                  เหมาะสม
            ดิน : ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
            ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 5-6 ครั้ง
            การขยายพันธุ์ : การใช้เมล็ด และการปักชำ การปักชำเป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดี
            ศัตรูพืช : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อการทำลาย             
            โรค : โรครากเน่า (Sclerotium root rot)
            อาการ : ลำต้นเหี่ยว และแคระแกร็น
            การป้องกัน : ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นอย่างเหมาะสม
            การรักษา : ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งหรือปลูกใหม่

2.ดินในท้องถิ่น           
      2.1 ดินในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
            ดินร่วนปนทรายหรือดินทรายเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุน้อย ธาตุอาหารต่างๆ แทบจะไม่มีเลย ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก ดินไม่อุ้มน้ำอุ้มปุ๋ย ใช้แล้วหมดไป ไม่สะสม ไม่ตรึงปุ๋ยหรือธาตุอาหาร แม้หน้าฝนจะถ่ายเทน้ำได้ดีแต่หน้าแล้งสภาพดินก็กลับมาแน่นแข็งเหมือนเดิม สภาพดินดังกล่าวทำให้ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะปุ๋ยเป็นจำนวนมาก เมื่อพบว่าดินเพาะปลูกมีสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นควรปรับปรุงสภาพดินโดยการหว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว ปอเทือง โสน ฯลฯ แล้วไถพรวนกลบเพิ่มอินทรียวัตถุ จากนั้นทำการปรับสภาพดิน เป็นที่ทราบกันว่าหินทรายเป็นแหล่งกำเนิดของดินทราย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหินฐานที่รองรับเป็นหินทรายและผุผังสลายให้เนื้อดินเป็นดินทราย ส่งผลทำให้ดินโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายชนิดต่างๆ ดินทรายที่เกิดจากหินทรายจะมีสมบัติไม่เหมือนกับดินทรายที่เกิดจากหินแกรนิต ที่เห็นเด่นชัดคือความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืช ซึ่งดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะไม่มีธาตุอาหารหลักของพืชเลย แม้แต่ธาตุอาหารรองก็ยังหายาก จะมีก็แต่ซิลิกา (Si) อย่างเดียว ทั้งนี้เพราะแร่ที่ประกอบเป็นหินทรายส่วนใหญ่เป็นควอตซ์  และถ้าดินนั้นเกิดจากแร่ควอตซ์เพียงอย่างเดียว ดินบริเวณนั้นก็จะจืด ขาดธาตุอาหาร เป็นดินที่มีปัญหาประเภทของหนึ่งของประเทศไทยอยู่ขณะนี้ ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นดินทราย ดินทรายร่วน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 95 ของพื้นที่ทั้งภาค  ดังนี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และหาวิธีการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพราะว่าหลังจากหินทรายผุสลายเป็นดินแล้ว อนุภาพทรายหยาบทรายละเอียดต่างๆ  จะถูกเกลี่ยโดยน้ำไหลบ่าหน้าดินได้ง่ายทำให้อนุภาคดินที่ละเอียดและธาตุอาหารในดินต่างๆ  ถูกชะล้างและพัดพาออกไปจากเนื้อดินลงไปสู่ที่ต่ำกว่าเช่นห้วย หนอง คลอง บึง ทุ่งราบ และท้ายสุดก็จะลงแม่น้ำไปจนหมดสิ้น จากกระบวนการทางธรรมชาติอันนี้ทำให้ทราบได้ว่าดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ของภาคนั้น จะไปรวมอยู่ในที่ต่ำ ที่ลุ่ม มากกว่าดินที่อยู่บนที่ดอนและเนื่องจากดินทรายง่ายต่อการถูกชะล้างธาตุอาหารในดิน  ทำให้ต้องสูญเสียธาตุอาหารไปอย่างรวดเร็ว ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งต้นเหตุส่วนหนึ่งแห่งความแห้งแล้งและความยากจน

3.โครงงานคอมพิวเตอร์ 
      
       หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

3.1 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

       คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
          1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

       เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
 โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
       
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)

       เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D

3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

       เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

       เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

       เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

วิธีการดำเนินการ

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
      ตัวแปรต้น      ชนิดของดิน
      ตัวแปรตาม      การเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร
      ตัวแปรควบคุม  ปริมาณดิน ปริมาณน้ำ ชนิดของต้นกระบองเพชร อายุ ปริมาณแสง เวลา 

ระยะเวลาการดำเนินการ
วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
4 สิงหาคม 2560
กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา
คณะผู้จัดทำ
4-9 สิงหาคม 2560
ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
คณะผู้จัดทำ
10-15 สิงหาคม 2560
วางแผนการปฏิบัติงาน
คณะผู้จัดทำ
16 สิงหาคม – 19 กันยายน 2560
ศึกษาการปลูกและติดตามผลการเจริญเติบโต
คณะผู้จัดทำ
20 กันยายน 2560
นำเสนอ
คณะผู้จัดทำ












วิธีดำเนินงานโครงงาน
      การเลือกต้น
            คัดเลือกต้นกระบองเพชรที่นำมาปลูกจากสายพันธ์แมมหนามตะขอ อายุ 1 ปีครึ่ง และขนาด 3-4 ซม.
     
      การเตรียมดิน
            เตรียมดินในบริเวณที่เราต้องการนำมาปลูก โดยเป็นดินจากบริเวณหนองน้ำ ทุ่งนา และบริเวณสวนในบ้านหนองคูพัฒนา หมู่ที่ 13 ต.หนองไผ่ล้อม อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ที่มีเนื้อดินเป็นเนื้อหยาบ ละเอียด สีน้ำตาลปนแดง
     
     การปลูก
            1.เตรียมดินในหนองน้ำ ในทุ่งนา และดินบริเวณสวนในบ้านหนองคูพัฒนา หมู่ที่ 13 ต.หนองไผ่ล้อม อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ใส่กระถางขนาด 200 ml จำนวน 3 ใบ
                   โดย ใบที่ 1 ใส่ดินบริเวณหนองน้ำ
                        ใบที่ 2 ใส่ดินบริเวณทุ่งนา
                        ใบที่ 3 ใส่ดินบริเวณสวนในบ้าน
                  และ ใบที่ 4 ใส่ดินร่วนปนทรายต้นแบบจากร้าน
             2.จากนั้นนำต้นกระบองเพชรลงไปปลูกในกระถางทั้ง 4 ใบของแต่ละชุด และรด
               น้ำในปริมาณ 20 ml ต่อกระถาง
             3.หลังจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ และสังเกตพร้อมบันทึกผล และรดน้ำ

      วิธีการเก็บข้อมูล
             ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพและตารางในการเก็บข้อมูล โดยการถ่ายภาพต้นกระบองเพชร และใช้นำมาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตในแต่ละสัปดาห์ และบันทึกผลลงตาราง

ผลการทดลอง

      ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรระหว่างดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนากับดินที่ใช้ปลูกต้นกระบองเพชรทั่วไป โดยกำหนดตัวแปรดังนี้ ชนิดของดินในท้องถิ่นเป็นตัวแปรต้น และการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรเป็นตัวแปรตาม คณะผู้จัดทำได้ปลูกต้นกระบองเพชรด้วยดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา จากบริเวณหนองน้ำ ทุ่งนา สวนในบ้าน และดินที่ใช้เพาะปลูกทั่วไป โดยนำต้นกระบองเพชรลงปลูกในดินทั้ง 4 ชนิดแล้วตั้งไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดที่เหมาะสม และสังเกตการณ์เจริญเติบโตพร้อมรดน้ำ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 1 เดือน 3 สัปดาห์ สังเกตและบันทึกผลการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร โดยดูจากลักษณะของหนาม และลักษณะของราก ตามชนิดของดินที่นำมาเพาะปลูก ซึ่งผลการทดลองมีดังนี้

ชนิดของดินที่
ใช้ปลูก
ลักษณะของต้นกระบองเพชร
สรุป
ลักษณะหนาม
ลักษณะราก
เจริญเติบโต
ไม่เจริญเติบโต
ดินบริเวณหนองน้ำ
(ใบที่ 1)
หนามสั้นลงและตรง ไม่มีลักษณะเป็นตะขอโค้งงอ
รากมีลักษณะที่สั้นลงมาก เหี่ยวเฉา

ดินบริเวณทุ่งนา
(ใบที่ 2)
หนามสั้นลงและตรง ไม่มีลักษณะเป็นตะขอโค้งงอ
รากมีลักษณะที่สั้นลงมาก เหี่ยวเฉา

ดินบริเวณสวนในบ้าน
(ใบที่ 3)
หนามยาวขึ้นจากเดิม มีลักษณะเป็นตะขอโค้งงอ
รากมีลักษณะที่ยาวขึ้น ไม่เหี่ยวเฉา

ดินที่ใช้เพาะปลูกทั่วไป (ใบที่ 4)
หนามยาวขึ้นจากเดิม มีลักษณะเป็นตะขอโค้งงอ
รากมีลักษณะที่ยาวขึ้น ไม่เหี่ยวเฉา

  

       













ผลการศึกษา
       จากตารางที่ 2 พบว่า ต้นกระบองเพชรใบที่ 1 และใบที่ 2 ที่ปลูกในดินบริเวณหนองน้ำและทุ่งนาตามลำดับ ไม่มีการเจริญเติบโตโดยดูจากลักษณะหนามที่ไม่มีตะขอหนามโค้งงอ มีหนามที่สั้นลงจากเดิม รากของต้นที่สั้นมากกว่าเดิมและเหี่ยวเฉา เนื่องจากสาเหตุคือ ดินไม่อุ้มน้ำเมื่อทิ้งไว้นานความชื้นจะหาย เนื้อดินหยาบและแข็งมาก ส่วนต้นกระบองเพชรใบที่ 3 และ ใบที่ 4 ที่ปลูกในดินบริเวณสวนในบ้านและดินที่ใช้เพาะปลูกทั่วไปตามลำดับ มีการเจริญเติบโตโดยดูจากลักษณะหนามที่มีตะขอหนามโค้งงอเพิ่มขึ้นจากเดิม หนามที่ยาวขึ้น รากของต้นยาวและไม่เหี่ยวเฉากว่าใบที่ 1 และใบที่ 2

สรุป/อภิปรายผลการทดลอง และข้อเสนอแนะ
      
       ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เชิงทดลองครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรระหว่างดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนากับดินที่ใช้ปลูกต้นกระบองเพชรทั่วไป โดยกำหนดตัวแปรอิสระ 1ตัวแปร ได้แก่ ชนิดของดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา และมีตัวแปรตาม 1 ตัว ได้แก่ การเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามขั้นตอนๆ สรุปได้ดังนี้
1.กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา โดยปรึกษาสมาชิกในกลุ่ม คัดเลือกหัวข้อที่สนใจตามมติ
2.ศึกษาค้นคว้าข้อมูล โดยสมาชิกในกลุ่มทุกคนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ สายพันธุ์และลักษณะต่างๆ ของต้นกระบองเพชร การเพาะปลูกและการดูแลต้นกระบองเพชร จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและอินเทอร์เน็ต
3.วางแผนการปฏิบัติงาน โดยการประชุมกำหนดแผนงาน กำหนดระยะเวลา จัดเตรียมการทดลอง จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทดลอง
4.การปลูกและติดตามผลการเจริญเติบโต โดยปลูกต้นกระบองเพชรด้วยดินในท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา จากบริเวณหนองน้ำ ทุ่งนา สวนในบ้าน และดินที่ใช้เพาะปลูกทั่วไป โดยนำต้นกระบองเพชรลงปลูกในดินทั้ง 4 ชนิดแล้วตั้งไว้ในบริเวณที่มีแสงแดดที่เหมาะสม และสังเกตการณ์เจริญเติบโตพร้อมรดน้ำ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง รวมเป็นระยะเวลา 1 เดือน 3 สัปดาห์ สังเกตและบันทึกผลการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชร โดยดูจากลักษณะของหนาม และลักษณะของราก ตามชนิดของดินที่นำมาเพาะปลูก
5.นำเสนอผลงาน โดยการนำผลการทดลอง และสรุปผลของการทดลองทั้งหมดที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐานมานำเสนอ เพื่อให้เกิดข้อเสนอแนะหรือแนวทางการพัฒนาการทดลองต่อไป
      เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบการทดลองครั้งนี้ ประกอบด้วย อุปกรณ์ถ่ายภาพและตารางในการเก็บข้อมูล โดยการถ่ายภาพต้นกระบองเพชร และใช้นำมาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตในแต่ละสัปดาห์ และบันทึกผลลงตาราง

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
       จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ผลการทดลองสอดคล้องกับสมมติฐานคือ เมื่อเราสังเกตการเจริญเติบโตจากดินทั้งสองประเภทคือ ดินต้นแบบกับดินในท้องถิ่น มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งดินต้นแบบมีการเจริญเติบโตของรากและการเจริญเติบโตของหนามตะขอซึ่งมีลักษณะโค้งงอคล้ายตะขอซึ่งเปรียบเทียบกับต้นกระบองเพชรที่ปลูกด้วยดินในท้องถิ่นก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีต้นกระบองเพชรสามารถเพาะปลูกในดินชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากดินทรายได้ ถึงแม้ดินที่นำมาศึกษานั้นคือ ดินในท้องถิ่น เป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มาก และธาตุอาหารในดินน้อย แต่ดินมีการอุ้มนำและรักษาความชื้นของดินอย่างเหมาะสม ทำให้ต้นกระบองเพชรเจริญเติบโตได้ดีในดินบริเวณท้องถิ่นบ้านหนองคูพัฒนา ซึ่งดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรมากที่สุดคือ ดินจากบริเวณสวนในบ้าน ที่มีลักษณะเนื้อดินนุ่ม ละเอียด รักษาความชื้น และดินอุ้มน้ำ อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกระบองเพชรคือ การดูแลรักษา ที่แสงต้องเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ปริมาณน้ำที่รดต้องเหมาะสมตามความลักษณะและชนิดของพืช ดินที่ใช้ในการปลูกต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับพืช มีความชื้นอย่างเหมาะสม และดูแลต้นกระบองเพชรไม่ให้เหี่ยวเฉาและตาย ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นส่วนให้ต้นกระบองเพชรสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกพื้นที่อีกด้วย

ข้อเสนอแนะ
-         ควรเลือกใช้ต้นกระบองเพชรที่สามารถแตกหน่อหรือออกดอกได้ เพื่อง่ายต่อการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโต
-         สามารถลองเปลี่ยนเป็นพืชชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายต้นกระบองเพชร

                                                         เอกสารอ้างอิง
    ไทยรัฐ.  2558.  กระบองเพชร 5 สายพันธุ์ ที่สาวๆ หลงรักจนหัวปักหัวปำ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 4 
           สิงหาคม 2560. http://www.thairath.co.th/content/506726
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.  (ไม่ระบุปีที่เขียน).  ลักษณะภูมิประเทศสืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560.
           http://localsurin.srru.ac.th/read/menu/150.html
    เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย.  2558.  กระบองเพชร/แคคตัส(Cactus)ประโยชน์และการปลูก
           กระบองเพชร. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2560. http://puechkaset.com.
    ศรัตน์ เสริมประภาศิลป์.  2557.  เครื่องประดับแรงบันดาลใจ จากกระบองเพชร พันธ์ไม้แห่งความ
           แข็งแกร่ง.  สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2560.
           http://www.thapra.lib.su.ac.th/object/thesis/fulltext/bachelor/d62557016/fulltext.pdf.
    Sugrita Suraphinit.  2556.  การเลี้ยงกระบองเพชร {cactus}.  สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2560.
           http://sugritacactus.blogspot.com/






ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ24 มกราคม 2565 เวลา 11:49

    The Best Online Casinos in the USA – The Best Live Dealer
    The Best Online Casinos in the USA – The Best Live Dealer Games · 1. Red Dog – CasinoSlotsMillion · 2. ラッキーニッキー InterTops 메리트카지노 – Mobile Casino · 카지노사이트 3. Microgaming – Table

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น